ขั้นที่ ๓ โจมตี ใช้เครื่องบินนำสารเคมี
ขึ้นไปโปรยที่ฐานเมฆ   ที่แก่ตัวจัดแล้ว
เพื่อบังคับให้ละอองน้ำในเมฆกลายเป็น
ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมาย


           สารเคมีที่ใช้มีหลายชนิด ได้แก่ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมคลอไรด์
แคลเซียมออกไซด์ ยูเรีย แอมโมเนียมไนเทรต น้ำแข็งแห้งและโซเดียมคลอไรด์
(เกลือทะเล) และสารประกอบอื่น ๆ อีกบางชนิด ทั้งหมดนี้เลือกใช้ให้เกิดผลดังที่
ต้องการ
           การปฏิบัติการฝนหลวงนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ จนถึง
ปัจจุบัน




ประโยชน์ของฝนหลวง

เมื่อเกิดภาวะแห้งแล้ง ฝนหลวงจะช่วยได้มากในเรื่องต่อไปนี้
• ทำให้เกิดฝน เพื่อใช้ในการทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และเพื่อใช้ในบ้านเรือน
• เพิ่มปริมาณน้ำฝนให้แก่อ่างและเขื่อนกักเก็บน้ำ เพื่อการชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้า
• เพิ่มน้ำให้แก่แหล่งน้ำและต้นน้ำลำธารธรรมชาติ
• ช่วยทำนุบำรุงป่าไม้และการปลูกป่าทดแทน
• ช่วยลดการเกิดไฟป่าในฤดูแล้ง
• บรรเทามลภาวะของสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเน่าในแม่น้ำลำคลอง โรคระบาด(อหิวาตกโรค) การระบาดของศัตรูพืชบางชนิด เช่น เพลี้ย ตั๊กแตนปาทังก้า เป็นต้น






     |    |    |    |    |    |    |    |    |  ๑๐