หิ่งห้อย
          หิ่งห้อยมีวิธีหาคู่ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน สัญญาณ
แสงไฟกะพริบเป็นจังหวะ ที่หิ่งห้อยส่งออกจากส่วนท้ายของลำตัวในตอนกลางคืน
เป็นสัญญาณที่มีจังหวะรู้กันเฉพาะหิ่งห้อย แสงนี้เป็นแสงที่เรียกกันว่า “แสงเย็น”
อย่างเดียวกับแสงที่เปล่งออกมาจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนซ์ชนิดที่ใช้กันตามบ้าน
          แสงเย็นจากตัวหิ่งห้อยเกิดจากสารชนิดหนึ่งที่มีอยู่ภายในลำตัว
สารนั้นมีชื่อว่า ลูซิเฟอริน เมื่อลูซิเฟอรินรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนที่หิ่งห้อยหายใจ
เข้าไปก็จะกลายเป็นแสงเรืองสว่าง การบังคับแสงให้กะพริบเป็นจังหวะทำได้โดย
การปล่อยก๊าซออกซิเจนเข้าไปรวมด้วยเป็นคราว ๆ ไป ก็จะได้แสงสว่างเป็นจังหวะ
ดังต้องการ
          หิ่งห้อยตัวผู้เท่านั้นที่มีปีกบินได้ และมักบินเฉพาะในตอนกลางคืน
กลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามกิ่งไม้ ใบไม้ ส่วนตัวเมียส่วนใหญ่ไม่มีปีก ทั้งคู่จึงต้องใช้
แสงกะพริบเป็นสัญญาณเพื่อที่จะได้พบกัน หิ่งห้อยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากบน
ต้นลำพูริมแม่น้ำ ในยามค่ำคืนสัญญาณไฟของหิ่งห้อยที่กะพริบเปิดปิดพร้อม ๆ กัน
เป็นจังหวะทำให้ต้นลำพูดูสวยงามยิ่งนัก



| | | | | | | | | | ๑๐ | ๑๑ | ๑๒ | ๑๓ | ๑๔ | ๑๕ | ๑๖ | ๑๗ |