การดูแลตนเอง สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศ พบได้บ่อยและเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ผู้ป่วยต้องได้รับการควบคุมดูแล รักษาอย่างถูกต้องและอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำคัญของ โรคเบาหวาน ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดสมอง ไตเรื้อรัง ตาบอด ถูก ตัดเท้า และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องได้รับการดูแลตาม มาตรฐาน และต้องมีความรู้ในการดูแลตนเอง   ผู้จัดทำคู่มือฉบับนี้ได้เรียบเรียงความรู้ในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วย โรคเบาหวาน เนื้อหาประกอบด้วย ความรู้โรคเบาหวานเบื้องต้น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด การใช้ยาเบาหวาน การดูแลเท้า การ จัดการภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ และการดูแลตนเองในภาวะพิเศษ เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้มีแนวทางในการดูแลตนเองที่สามารถน้ำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับตนเอง ผู้จัดทำใคร่ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่กรุณาตรวจสอบความถูกต้องของ เนื้อหาคู่มือนี้ มา ณ โอกาสนี้  ทั้งนี้ คู่มือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้ทางวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน มิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้การสนับสนุนหรือพาดพิงถึงผลิตภัณฑ์ใด ๆ เป็นการเฉพาะ

Bumnet Saengrut

การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ในโลกยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลายส่งผลกระทบต่อความเจ็บป่วยอย่างมากมาย ความเจ็บป่วยที่เกิดต้องได้รับการดูแลรักษาทั้งในภาวะวิกฤตและระยะต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านภาวะสุขภาพหลายครั้ง ในขณะที่ผู้ป่วยรักษา ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยที่รุนแรงเกิดอาการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือพิการเฉียบพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือนผู้ป่วยและครอบครัวต้องเผชิญประสบการณ์ใหม่ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่รวมทั้งการตรวจรักษาที่หลากหลายนับตั้งแต่เข้ารักษาในโรงพยาบาลในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่ออาการรุนแรงลดลงหรืออาการคงที่จะมีการย้ายผู้ป่วยออกไปสู่หอผู้ป่วยทั่วไปเพื่อรับการฟื้นฟูสภาพหรือกลับบ้านซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องปฏิบัติกิจกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองให้ต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการฟื้นฟู  ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการพยาบาลโดยพยาบาลวิชาชีพที่มีความรู้และประสบการณ์ในการดูแลเป็นอย่างดี เพื่อช่วยให้การรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพสูงสุด พยาบาลวิชาชีพที่ให้การพยาบาลผู้ป่วยจึงต้องมีสมรรถนะที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการและปัญหาของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงที่มีขีดความสามารถในการให้บริการ มีความพร้อมในการรักษาสูงและผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ฝ่ายการพยาบาลเป็นองค์กรหนึ่งของโรงพยาบาลที่ต้องตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายของโรงพยาบาลเน้นการพยาบาลที่มีคุณภาพ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร มีนโยบาย และแผนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านสมรรถนะ และการประเมินระดับสมรรถนะบุคลากรพยาบาลทุกระดับ โดยแบ่งสมรรถนะบุคลากรพยาบาล เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) สมรรถนะหลัก 2) สมรรถนะตามตำแหน่งหน้าที่ ประกอบด้วย 2.1) สมรรถนะเชิงวิชาชีพ 2.2) สมรรถนะเฉพาะและมีนโยบายให้ทุกหน่วยงานใช้กรอบและแบบประเมินสมรรถนะหลัก และสมรรถนะเชิงวิชาชีพของฝ่ายการพยาบาล ส่วนสมรรถนะเฉพาะให้แต่ละหน่วยงานกำหนดเอง งานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรศาสตร์มีการดำเนินงานตามนโยบายการประเมินสมรรถนะของโรงพยาบาลโดยมีการประเมินสมรรถนะหลักและประเมินสมรรถนะเชิงวิชาชีพตามแบบประเมินสมรรถนะที่ทีมพัฒนาคุณภาพบริการ ฝ่ายการพยาบาลกำหนด ส่วนสมรรถนะเฉพาะแต่ละหน่วยงานได้มีการกำหนดไว้ การพัฒนาสมรรถนะเฉพาะแต่ละหน่วยงานจะทำให้ได้กรอบสมรรถนะที่ครบถ้วนและครอบคลุมบริบทการทำงานของพยาบาล สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานนำไปสู่การประเมินระดับสมรรถนะ การประเมินผลงาน และการวางแผนพัฒนาบุคลากรพยาบาลให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง และเกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยในที่สุด ประกอบกับพยาบาลเป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นทรัพยากรที่สำคัญในโรงพยาบาล การพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาลแบบบูรณาการในการพยาบาลเรื่องต่างๆ การให้การพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพส่งผลให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและทั่วถึง ดังนั้นจึงมีการนําระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e - learning) ที่มีความยืนหยุ่น อํานวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ไม่มีข้อจํากัดเรื่องเวลาและสถานที่ สามารถเรียนรู้ได้ตามเวลาที่ต้องการ (Anytime, Anywhere) ไม่จํากัดจํานวนผู้เรียน (Scalability)เข้ามาใช้ ดังนั้นผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากบทเรียนที่มี เนื้อหาสาระได้มาตรฐานเดียวกันและเป็นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ ตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของโรงพยาบาล


MUNCHAREE KHUTTIYA